วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ — Presentation Transcript
·         1. ครูณัฐพล บัวอุไร
·         2. การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ ที่เรียกว่า การปฏิวัติมาแล้วสองครั้ง การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจากการ ใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือ พลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรมาจากพลังงานน้ำ
·         3. พลังงานไอน้ำ และเปลี่ยนเป็นพลังงานจากน้ำมัน มีการขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า
·         4. เจมส์ วัตต์ ( James Watt )
·         5. การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีก โดยเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานจากการทีละขั้นตอนมาเป็นการทำงานระบบอัตโนมัติ การทำงานเหล่านี้อาศัยระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น มีผู้กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งที่สามกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดใหม่นี้ ได้แก่ การพัฒนาทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์
·         6. การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตรถยนต์
·         7. เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ได้มีการพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น และในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการคำนวณและ เก็บข้อมูลได้ แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท ส่งผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวัน
·         8. พ . ศ . 2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก งานส่วนใหญ่เป็นงานในสำนักงานและยังไม่มีอุปกรณ์ เครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยงานเท่าใดนัก
·         9. เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงาน อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น สำนักงานเป็นแหล่งที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด
·         10. เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อประสม ( multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียงและวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน
·         11. เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ รวมถึงศึกษากฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เพื่อช่วยในการทำงาน เช่น อุปกรณ์ , เครื่องมือ , เครื่องจักร , วัสดุ หรือสิ่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของ
·         12. ตัวอย่างเช่น ทรายหรือซิลิกอน ( silikon) เป็นสารแร่ที่พบเห็นทั่วไปตามชายหาด หากนำมาสกัดด้วยเทคนิควิธีการสร้างเป็น ชิป ( chip) จะทำให้สารแร่ซิลิกอนนั้นมีคุณค่า และมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
·         13. สารสนเทศ ( Information ) หมายถึง ข้อมูลดิบที่ผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการเรียกว่า สารสนเทศเช่น คะแนนสอบนักเรียน นำมาประมวลผลเพื่อตัดเกรด
·         14. ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การประยุกต์ เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศ ที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ
·         15. ระยะเริ่มแรกที่มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นเครื่อง คำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ระยะแรกนี้เรียกว่า ระยะการประมวลผลข้อมูล ( data processing age) งานที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลข้อมูลมักเก็บในลักษณะแฟ้มข้อมูล และประมวลผลทีเดียวพร้อมกัน การประมวลผลแบบกลุ่ม ( batch processing) งานการประมวลผลแบบกลุ่มมาเป็นระบบ ตอบสนองทันที ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบเชื่อมตรง ( online processing) เช่น การฝากถอนเงินของธนาคารต่างๆ ผ่านเครื่องรับ - จ่ายเงินอัตโนมัติ
·         16. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ถูกต้อง และแม่นยำ เช่น ใช้ในระบบฝากถอนเงิน และระบบจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้การบริการกว้างขวางขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยงานในชีวิตประจำวัน ดังเห็นได้จากการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ การถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิทัล และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ
·         17. การประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องซักผ้า ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล การนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนการสอน เช่น วิดีทัศน์ เครื่องฉายภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน
·         18. การรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม การป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุม ระบบป้องกันภัย และระบบเฝ้าระวัง ( เรดาร์ )
·         19. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซอฟแวร์ประมวลคำ ( word processing)
·         20. ซอฟแวร์กราฟิก ( graphic)
·         21. ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล ( database management)
·         22. ซอฟแวร์การทำสิ่งพิมพ์ ( desktop publishing
·         23. ซอฟแวร์ตารางทำงาน ( spreadsheet)
·         24. ซอฟแวร์นำเสนอ ( presentation)
·         25. ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถใช้กับงานต่างๆ ได้ ตัวอย่างระบบบริการลูกค้า หรือการเสนอขายสินค้าผ่านทางสื่อโทรศัพท์ พนักงานในทีมงานอาจจะมีอยู่หลายคนและใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลกลางของลูกค้าร่วมกัน
·         26. ระบบสารสนเทศของกลุ่มหรือแผนกยังมีแนวทางอื่นๆ ในการสนับสนุนการบริหารงานและการปฏิบัติงาน เช่น การสื่อสารด้วยระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมผ่านเครือข่าย ซึ่งอาจจะประชุมปรึกษาหารือกันได้โดยอยู่ต่างสถานที่กัน
·         27. ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม ได้แก่ การประชุมทางไกล การช่วยกันเขียนเอกสาร ตำรา หรือรายงานร่วมกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การทำตารางทำงานของกลุ่ม ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม ระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบการไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร ระบบการจัดการเก็บข้อความ ระบบการจัดตารางเวลาของกลุ่ม ระบบการบริหารโครงการของกลุ่ม ระบบการใช้แฟ้มข้อความร่วมกันของกลุ่ม ระบบประมวลผลภาพเอกสาร เป็นต้น
·         28. ระบบสารสนเทศระดับองค์กร หัวใจสำคัญของระบบสารสนเทศในระดับองค์กร คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรที่จะต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิด การใช้ข้อมูลร่วมกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ด้วย
·         29. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีอยู่ 5 องค์ประกอบได้แก่ ฮาร์ดแวร์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย
·         30. ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง
·         31. ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้ว และข้อมูลจะต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
·         32. บุคลากร ซึ่งได้แก่บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
·         33. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน และในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานของคนและความสำพันธ์กับเครื่อง
·         34. ระบบเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine : ATM) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยในปีพ . ศ . 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงค์ในเมือง นิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมวันเสาร์อาทิตย์ด้วย ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของ ธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัว ได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคาร อื่นมาเป็นลูกค้าของตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะไหวตัวทัน และหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง
·         35. เทคโนโลยี ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็ม ก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล กับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ ทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยัง ฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูล ยอดเงินฝากและรายการฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็น ฐานข้อมูลกลาง
·         36. ระบบลงทะเบียนเรียน การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้ว สามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้าง
37. ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ( electronic commerce : e-commerce ) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการตั้งร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าเยี่ยมชมจากแหล่งต่างๆ ได้ทั่วทุกมุมโลกความหมายของความสำคัญของเทคโนโลยี
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน — Presentation Transcript
·         1. เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน วิชาคอมพิวเตอร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 นางฐิติพร ไหวดี ครู คศ .2 โรงเรียนทองสวัสดิ์วิทยาคาร
·         2. เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โทรศัพท์มือถือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร บัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ที่มีแถบแม่เหล็ก ใช้บริการฝาก - ถอนเงินจากเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ หรือเอทีเอ็ม ( ATM) การชำระค่าน้ำค่าไฟต่างๆ ผ่านธนาคาร การเล่นอินเทอร์เน็ต
·         3. บทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการช่วยการทำงานด้านต่างๆ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา : เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธนาคาร : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านอุตสาหกรรม : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านวิทยาศาสตร์
·         4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา : เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น
·         5. เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น
·         6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ : เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลประวัติบุคคล ข้อมูลประวัติอาชญากร ช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้งและการประกาศผลเลือกตั้ง การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ การบริการออกสำเนาทะเบียนบ้านด้วยคอมพิวเตอร์ การคิดคำนวณภาษีอากร การเก็บข้อมูลสถิติสำมะโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ การให้บริการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
7. เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ : ใช้ช่วยงานพิมพ์ งานคำนวณ งานจัดเก็บข้อมูล งานบริหารจัดการข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ การดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การวางแผนการขาย งานบริการลูกค้าสำหรับธุรกิจร้านค้าสมัยใหม่ เช่น การให้บริการชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ การทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ช ทำให้เกิดการทำธุรกรรมและการติดต่อธุรกิจได้ทั่วโลกในทุกเวลาและทุกสถานที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะขนาดใหญ่ของโลก
ความหมายของเทคโนโลยี ความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.  เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 
2.  เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา 
3.  เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ 
    ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้าง นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่  ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรม  เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น  ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน  หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เข้ามาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็ว  จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอนิกส์  โทรคมนาคม  และข่าวสาร  (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว  สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง  ๆ ได้พร้อมกัน  สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำโลกใบนี้ เล็กลงทุกขณะ
ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง และสังคมเมืองทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง ทำให้ข่าวสารแพร่กระจ่ายไปอย่างรวดเร็ว 

สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดนเพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ออกไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือ

           
สังคมสารสนเทศเป็นลักษณะของสังคมที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเรื่องราวปลายศตวรรษที่ 20 มานี้เองหากมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์สังคม เราจะพบว่าสังคมสารสนเทศเป็นสังคมที่พัฒนาต่อจากสังคมเกษตรและอุตสาหกรรมโดยมีที่มาจากการปฏิบัติเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication revolution) จากเดิมที่มีเพียงโทรทัศน์วิทยุ ภาพยนตร์ และสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลัก มาเป็นสื่อใหม่ (new media) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และสื่อที่อาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น ดาวเทียม สายเคเบิลใยแก้ว โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ลักษณะของสังคมสารสนเทศ พอจะประมวลได้ดังนี้
1)
สังคมสารสนเทศเป็นสังคมที่มีการผลิตหลักเป็นข้อมูลข่าวสาร (information) แทนที่จะเป็นการผลิตสินค้าจากโรงงานเหมือนในสังคมอุตสาหกรรม
2)
ข้อมูลข่าวสารถือว่าเป็นทรัพยากร (resource) ที่มีค่ายิ่ง เช่น ใครรู้ว่ารัฐบาลจะลอยตัวค่าเงินบาทก่อนก็ได้เปรียบ
3)
เกิดการผลิตและการไหลของข้อมูลข่าวสารนานาชนิดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
4)
เป็นสังคมที่ต้องพึ่งพึงเครือข่ายการสื่อสารและข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน
5)
เป็นสังคมที่มีการทุ่มทรัพยากรให้กับข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมการสื่อสาร
6)
สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จะค่อย ๆ บูรณาการเข้ากับสื่อใหม่ทางอินเตอร์เน็ท
7)
วิธีการ (mean) ผลิตข้อมูลข่าวสารจะมีความสำคัญกว่าเนื้อหา (content) ที่ถูกผลิต
ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากสังคมสารสนเทศ
เทคโนโลยีการสื่อสารซึ่งเป็นกลไก/โครงสร้างหลักของสังคมสารสนเทศเปรียบเหมือนดาบสองคมที่ทำให้เกิดผลที่กำลังเกิดและอาจเกิดตามมาทั้งดีและเสียที่พึงระวัง
ผลดี
1.
การบูรณาการสื่อต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย (Inter-connectedness) และการไหลของข้อมูลข่าวสารทุกทิศทุกทาง ขจัดอุปสรรคเรื่องเวลาและระยะทาง (time and space) ที่เคยเป็นในอดีต เช่น ความสะดวกรวดเร็วของการส่ง e-mail การชมการถ่ายสดทางโทรทัศน์ผ่านสัญญาณดาวเทียมหรือทางเว็บไซต์พร้อม ๆ ไปกับการแสดงความคิดเห็นต่อรายการผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที
2.
เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดความรวดเร็ว (speed) ในการส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปริมาณ (volume) ข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำกัดการปฏิสัมพันธ์ (interactivity) การเชื่อมโยง (interconnectivity) ของกลุ่มคน และการขยาย (extensibility) กลุ่มคนและข้อมูล เช่น การเกิดชุมชนเสมือน (virtual community) ในอินเทอร์เน็ต
3.
ทำให้เกิดเสรีภาพในการแสดงความเห็น และแนวคิดอันหลากหลาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย (Democratic pluralism) ปลอดพ้นจากการควบคุมของอำนาจปกครองทางการเมือง (bureaucratic control) เกิดการกระจายอำนาจ (decentralization) เพิ่มโอกาสให้สาธารณชนและชุมชนได้มีอำนาจในการบริหารจัดการและควบคุมชะตาชีวิตของตนเอง โดยตนเอง และเพื่อตนเองมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมเชิงบวก เช่น หากไม่ชอบใจการบริหารงานของรัฐบาลก็สามารถแสดงความคิดเห็นและถกเถียงอภิปรายผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
ผลเสีย
1.
เทคโนโลยีจะเป็นช่องทางให้บรรษัทข้ามชาติ (Large multinational corporations) ขยายตลาดและฐานอำนาจใหญ่ขึ้น
2.
ผู้ที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี เช่น ไม่มีคอมพิวเตอร์ จะกลายเป็นกลุ่มชนชั้นล่างผู้ด้อยโอกาสทางข้อมูลข่าวสารกลุ่มใหม่ (new information under class) นำไปสู่ช่องว่างระหว่างชนชั้น เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
3.
ความสัมพันธ์ระหว่างคนจะค่อย ๆ ถูกทำลายลง เพราะลักษณะการใช้สื่อที่เป็นการใช้คนเดียว และใช้ครั้งละนาน ๆ นำไปสู่ความเป็นปัจเจกมากขึ้น
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 

โลกาภิวัตน์ (Globalization)
          
คำว่า “Globalization” อาจแทนด้วยคำว่า “Internationalization” ซึ่งเข้าใจได้ง่ายกว่า เช่นเดียวกับการเกิดของสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสารเช่นกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทำลายข้อจำกัดเรื่องพรมแดนในการสื่อสารไปในขณะที่สังคมสารสนเทศกำลังเติบโต โลกาภิวัตน์จึงเป็นเสมือนแฝดผู้น้องของสังคมสารสนเทศแฝดคู่นี้มีสิ่งที่เหมือนกันมากคือเป็นตัวการที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งเชิงบวกและลบ อย่างไรก็ตามแฝดผู้น้องมีลักษณะพิเศษบางประการที่ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างจากแฝดผู้พี่ได้
ลักษณะของโลกาภิวัตน์
สำหรับวงวิชาการแล้ว โลกาภิวัตน์จะถูกมอง 2 นัย คือ นัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน และนัยด้านวัฒนธรรม
1. สำหรับนัยด้านธุรกิจ/ธุรกรรมไร้พรมแดน
โลกาภิวัตน์จะสะท้อนลักษณะเครือข่ายความเป็นเจ้าของ (network of interconnected ownership) และเครือข่ายการบริหารจัดการของธุรกิจการสื่อสารข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากโครงสร้างการสื่อสารพื้นฐานครอบโลก (global communication infrastructure) เช่น อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น ดาวเทียม และการแพร่กระจายของสื่อมวลชนตะวันตกไปยังนานาประเทศทั่วโลก (Tran nationalization of mass media) เช่น ภาพยนตร์ฮอลีวู้ด ข่าว CNN มิวสิควิดีโอ เพลงสากล และเว็บไซต์นานาชนิด การเกิดขึ้นของธุรกิจข้ามชาติ (global business) เป็นทั้งผลและเหตุที่นำไปสู่การเกิดตลาดโลก (global market) ที่จะรองรับผลผลิตภัณฑ์ในรูปสื่อ (media products) เป็นต้น
2. ส่วนนัยทางด้านวัฒนธรรม
เป็นผลมาจากนัยด้านธุรกิจอีกทอดหนึ่ง กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นภาพและเสียงที่ถูกจัดจำหน่ายถ่ายทอดอย่างกว้างขวางเหล่านั้นมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่ถูกประกอบสร้าง (Construct) ภายใต้วัฒนธรรมหนึ่ง ๆ เช่น เพลงฮิบฮอบของคนอเมริกัน ข่าวใส่สีตีไข่ (sensational) เข้าข้างเฉพาะคนอเมริกันของ CNN เป็นต้น แม้กระทั่งการผลิตสื่อก็จะถูกลอกเลียนแบบและคัดลอกได้ง่าย
ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์
เช่นเดียวกับสังคมสารสนเทศ โลกาภิวัตน์ก็ส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งในเชิงบวกและลบ
ผลดี
1.
ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์นี้ สื่อมวลชนสามารถแสดงบทบาทเป็นผู้กระตุ้นและขับเคลื่อนกระบวนการประชาธิปไตยและวิถีอันทันสมัย (Modern ways) เช่น การเกิดตลาดเสรีทางการค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.
การสื่อสารไร้พรมแดนก่อให้เกิดการขยายพื้นที่ทางความคิดและการแสดงออก กำจัดเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่ คนมีเสรีภาพและโอกาสมากขึ้น เช่น มีสื่อให้เลือกเปิดรับโดยเสรีหลากหลายมากขึ้น และสามารถเปิดรับได้ไม่ว่าจะในเวลาใดก็ตาม
3.
เกิดการขยายอำนาจทางความหมาย (Semiotic power) ที่ใคร ๆ ก็สามารถสร้างความหมายใหม่ให้กับตนเองหรือกลุ่มของตนเองได้ ไม่ต้องถูกครอบงำจากความหมายกระแสหลักเหมือนในอดีต เช่น ไม่ต้องดูแต่ข่าว CNN อย่างเดียวจนกลายเป็นศัตรูกับบิน ลาเดน ไปด้วย แต่มีสำนักข่าวอัลจาซีรา (Al Jazeera) มาร่วมเสนอแง่มุมอีด้านหนึ่ง ทำให้กระบวนการสร้างความหมายเรื่องผู้ก่อการร้ายมีที่มาจากหลายฝ่าย
4.
ทำให้เกิดความงอกงามทางวัฒนธรรม (Cultural enrichment) ลดการหลงเชื้อชาติและชาตินิยม (Ethnocentricism and nationalism) ลดความเกลียดกลัวคนต่างด้าว (xenophobia) ลดการแยกแย้งจนนำไปสู่การหลอมรวมทางวัฒนธรรม (global homogenization)
5.
นำไปสู่การจัดระเบียบโลกใหม่ (new world order) ก่อให้เกิดความเข้าใจและสันติภาพระหว่งประเทศในที่สุด
ผลเสีย
1.
อาจจะเกิดการรุกรานและการกดขี่ทางวัฒนธรรม (Cultural invasion and coercion) ของจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมอเมริกัน (US imperialism) และประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจทางการผลิตและการค้าสินค้าทางวัฒนธรรม รวมทั้งครอบงำระบบตลาดโลกอยู่ในปัจจุบัน เช่น หนังไทยเกือบสิ้นชื่อเพราะหนังฮอลีวูดเข้ามาตีตลาด
2.
ลดคุณค่าความเป็นวัฒนธรรมเฉพาะดั้งเดิมของกลุ่มชน ทำให้เกิดการถอยร่นและเสื่อมสลายของวัฒนธรรมต้นแบบที่เกิดและค่อย ๆ เติบโตพัฒนามาพร้อม ๆ กับกลุ่มชน เช่น คนไทยเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์มากกว่าวันครู
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบอันเกิดจากโลกาภิวัตน์ไม่ว่าจะด้านบวกหรือลบจะมีมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ศักยภาพในการผลิตสื่อเพื่อใช้บริโภคเองของคนภายในวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ ตลอดจนความสามารถในการผสมผสานและผนวกความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
         
เทคโนโลยี (Technology) 
           คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
             
สารสนเทศ (Information)
             
คำว่าสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
           
ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียน
           
เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล

เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้ 

1) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกัน การใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล จะเห็นได้ว่าการเก็บรวบรวมข้อมูล จากคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บได้หลายแบเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน — Presentation Transcript

·         1. เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน วิชาคอมพิวเตอร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 นางฐิติพร ไหวดี ครู คศ .2 โรงเรียนทองสวัสดิ์วิทยาคาร
·         2. เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โทรศัพท์มือถือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร บัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ที่มีแถบแม่เหล็ก ใช้บริการฝาก - ถอนเงินจากเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ หรือเอทีเอ็ม ( ATM) การชำระค่าน้ำค่าไฟต่างๆ ผ่านธนาคาร การเล่นอินเทอร์เน็ต
·         3. บทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการช่วยการทำงานด้านต่างๆ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา : เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธนาคาร : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านอุตสาหกรรม : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านวิทยาศาสตร์
·         4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา : เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น
·         5. เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น
·         6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ : เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลประวัติบุคคล ข้อมูลประวัติอาชญากร ช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้งและการประกาศผลเลือกตั้ง การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ การบริการออกสำเนาทะเบียนบ้านด้วยคอมพิวเตอร์ การคิดคำนวณภาษีอากร การเก็บข้อมูลสถิติสำมะโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ การให้บริการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
·         7. เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ : ใช้ช่วยงานพิมพ์ งานคำนวณ งานจัดเก็บข้อมูล งานบริหารจัดการข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ การดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การวางแผนการขาย งานบริการลูกค้าสำหรับธุรกิจร้านค้าสมัยใหม่ เช่น การให้บริการชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ การทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ช ทำให้เกิดการทำธุรกรรมและการติดต่อธุรกิจได้ทั่วโลกในทุกเวลาและทุกสถานที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะขนาดใหญ่ของโลก

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคโลกาภิวัตน์
จอห์น ไนซ์บิตต์ ผู้พยากรณ์สังคมได้เขียนหนังสือเรื่อง Megatrends 2000 โดยกล่าวถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใหม่ทางสังคมโลกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะการกระจายแบบทุกทิศทาง และมีระบบตอบสนองอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน แนวโน้มที่สำคัญที่เกิดจากเทคโนโลยีที่สำคัญและเป็นที่กล่าวถึงกันมาก มีหลายประการ
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนมาเป็นสังคมสารสนเทศ ซึ่งในอดีตสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกจากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรที่รู้จักกับการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตร ทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากและต้นทุนถูก จึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรม ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมเมือง มีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยเป็นเมือง มีอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิต จนมาถึงปัจจุบันซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้น มีการใช้เครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ เกิดคำใหม่ว่า ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace)” มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใน ไซเบอร์สเปซ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้าและบริการ การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดสภาพเสมือนจริงมากมาย อาทิ ห้องสมุดเสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ที่ทำงานเสมือนจริง
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและตอบสนองตามความต้องการ ซึ่งแต่เดิมการใช้เทคโนโลยีเป็นแบบบังคับ เช่น การดูโทรทัศน์ วิทยุ เมื่อเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ จะไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้ ถ้าสถานีส่งสัญญาณใดมาก็จะต้องชม หากไม่พอใจก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่ แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า on demand เช่น เมื่อต้องการชมภาพยนตร์เรื่องใดก็สามารถเลือกชมและดูได้ตั้งแต่ต้นรายการ หากจะศึกษาหรือเรียนรู้ก็มี education on demand คือสามารถเลือกเรียนตามต้องการได้ การตอบสนองตามความต้องการเป็นหนทางที่เป็นไปได้เพราะเทคโนโลยีมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าจนสามารถนำระบบสื่อสารมาตอบสนองตามความต้องการของมนุษย์ได้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย อาทิ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ระบบประชุมบนเครือข่าย ระบบ Tele-education ระบบการค้าบนเครือข่าย (E-commerce) ลักษณะของการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานไปทุกหนทุกแห่งและดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เห็นได้จากตัวอย่างที่มีมานานแล้ว เช่น ระบบเอทีเอ็ม ทำให้การเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา และกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การบริการจะกระจายมากยิ่งขึ้นจนถึงที่บ้าน ในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ และเวลาใดก็ได้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ความเกี่ยวโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์ ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก ทั่วโลกจะมีกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศ และเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน หน่วยงานภายในเป็นแบบเครือข่ายมากขึ้น แต่เดิมการจัดองค์กรมีการวางเป็นลำดับขั้น มีสายการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง แต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่าวสารดีขึ้น มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงาน มีการเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดโครงสร้างขององค์กรจึงปรับเปลี่ยนจากเดิม และมีแนวโน้มที่จะสร้างองค์กรเป็นเครือข่ายที่มีลักษณะกรณีศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เอาท์ซอร์ส Outsource (การแบ่งงานบางส่วนออกไปทำที่อื่น)
โทมัส ฟรีดแมน นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ใครว่าโลกกลม (The World is Flat)” ได้กล่าวถึงการแบนราบลงของสนามแข่งขันทุกแห่งบนโลก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศกำลังพัฒนา บริษัทขนาดเล็ก หรือกลุ่มบุคคล/องค์กรบางกลุ่มสามารถเข้าร่วมแข่งขันในสมรภูมิทางเศรษฐกิจได้นั้น เป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้าขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  • การจ้างงานบางอย่างถูกแบ่งงานไปยังที่อื่นมีความต่างทางด้านเวลา เช่น อเมริกากับอินเดียซึ่งอยู่คนละซีกโลก เวลาต่างกัน 12 ชั่วโมง ที่อเมริกาเป็นกลางคืนแต่อินเดียยังเป็นกลางวัน ทำให้งานบางอย่างสามารถส่งจากอเมริกาในตอนกลางคืนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปให้ชาวอินเดียช่วยจัดการให้ อาทิ โรงพยาบาลบางแห่งส่งไฟล์ภาพสแกน CAT หรือ MRI ของคนไข้ผ่านอินเตอร์เน็ตไปให้หมอชาวอินเดียช่วยวินิจฉัย บริษัทบางแห่งอัดไฟล์เสียงบันทึกการประชุมส่งไปยังอินเดียให้ช่วยถอดบันทึกการประชุมและสรุปรายงานเพื่อส่งกลับมาในตอนเช้า
  • ประสิทธิภาพของการส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตที่สามารถส่งข้อมูลแบบมัลติมีเดียทั้งข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง ทำให้การแบ่งงานไปยังที่อื่นมีความสะดวกมากขึ้น อาทิ ในปี 2005 มีแบบฟอร์มเสียภาษีของอเมริกาจำนวนกว่า 400,000 รายการถูกสแกนส่งไปยังอินเดียให้นักบัญชีชาวอินเดียเป็นผู้จัดทำและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ธุรกิจ E-tutoring ผ่านอินเตอร์เน็ต โดยในตอนเย็นเด็กนักเรียนชาวอเมริกันจะใช้อินเตอร์เน็ตในการติวเนื้อหาในการเรียน การทำการบ้าน รายงานโดยครูผู้สอนนั้นเป็นชาวอินเดีย หรือธุรกิจการตอบรับโทรศัพท์ เช่น การแจ้งเตือนชำระเงิน การจองตั๋วเครื่องบิน ร้านอาหารหรือโรงแรม การชักชวนทำบัตรเครดิต เป็นต้น ธุรกิจเหล่านี้มีบริษัทอยู่ที่อินเดียทั้งสิ้น ซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากอาจจะยังไม่ทราบว่าเมื่อใช้โทรศัพท์ติดต่องานดังกล่าวนั้น เป็นการโทรผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก โดยโอเปอเรเตอร์ที่รับสายอยู่ที่ประเทศอินเดีย
  • การแบ่งงานไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า เช่น ที่เมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย ที่รับแบ่งงานด้านซอฟต์แวร์จากอเมริกา โดยบริษัทซอฟต์แวร์หลายแห่งในเมืองซิลิกอนแวลเลย์ที่อเมริกา ได้จ้างวิศวกรคอมพิวเตอร์จากอินเดียในการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือที่เมืองต้าเหลียน ประเทศจีนซึ่งมีชาวจีนจำนวนมากที่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ และรับแบ่งงานหลายอย่างจากญี่ปุ่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น ออกแบบซอฟต์แวร์ ออกแบบอาคารด้วยคอมพิวเตอร์ งานด้านกฎหมาย เป็นต้น โดยที่คิดค่าแรงถูกกว่าที่ญี่ปุ่นมาก
สังคมออนไลน์
  • ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยชุมชนออนไลน์ อาทิ Linux, Apache, FireFox ล้วนแล้วแต่เป็นซอฟต์แวร์ที่นักคอมพิวเตอร์อิสระทั่วโลกช่วยกันพัฒนาขึ้นมาโดยคาดหวังว่าจะเป็นซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open source) ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการปรับปรุงโปรแกรม ดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรีและมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นคือซอฟต์แวร์รหัสเปิดเหล่านี้ได้รับการตอบสนองจากบรรดาผู้ใช้งานจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องไปซื้อหาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ซึ่งอาจมีราคาสูงมาใช้ นอกจากนี้ธุรกิจบางประเภทก็เคยใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยชุมชนออนไลน์มาพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ ดังเช่นในปี ค.ศ.2000 ธุรกิจเหมืองทองคำของแคนาดา ชื่อว่า โกล์คอร์ปอิงค์ ได้ออกประกาศชวนนักธรณีวิทยาทั่วโลกร่วมแข่งขันออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อค้นหาแหล่งแร่ทองคำที่เหมืองเรดเลกในแคนาดา โดยมีรางวัลรวมมูลค่ากว่า 575,000 ดอลล่าห์สหรัฐ โดยบริษัทได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเหมืองทั้งหมดผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยากว่า 1,400 คน จาก 50 ประเทศเข้ามาดาวน์โหลดข้อมูลและแข่งขันกันสร้างซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลแหล่งแร่และจำลองภาพเสมือนจริง ผลที่ได้รับคือบริษัทมีผลผลิตทองคำเพิ่มขึ้นเกือบสิบเท่า และถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการเหมืองแร่
  • การอัพโหลด (Upload) ที่ทำให้คุณทุกคนกลายเป็นบุคคลสำคัญ ซึ่งโทมัส ฟรีดแมน เคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า สมัยก่อนสังคมออนไลน์ส่วนมากคือการดาวน์โหลดหรือบริโภคข้อมูลข่าวสารเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนเป็นผู้ผลิตข้อมูลข่าวสารและอัพโหลดสู่ระบบเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก นิตยสาร TIME ซึ่งเป็นนิตยสารที่มีการมอบตำแหน่ง “Person of the Year” หรือ บุคคลแห่งปีให้กับบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงข่าวและวิถีชีวิตของคนหมู่มากสูงที่สุด แต่นิตยสาร TIME ได้มอบตำแหน่งนี้ประจำปี 2006 ให้กับ คุณ (YOU)” ความหมายคือคุณทุกคนที่เข้าสู่สังคมออนไลน์ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมออนไลน์ขึ้นมา ผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ ดังตัวอย่างนี้
    เว็บบล็อก (Web Blog) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า บล็อก ซึ่งเปรียบเสมือนหนังสือพิมพ์หรือวารสารส่วนตัวที่ผลิตด้วยตัวคุณเอง โดยคุณสามารถอัพโหลดคอลัมน์หรือจดหมายข่าวเข้าไปในเว็บไซต์ เพื่อให้คนทั่วโลกได้เยี่ยมชมและแสดงความคิดเห็น โดยการทำข่าว อาจใช้เพียงเครื่องเล่น MP3 ในการบันทึกเสียงหรือใช้กล้องดิจิตอลที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือในการบันทึกภาพก็สามารถทำข่าวสารเผยแพร่เองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านการทำข่าว อาทิ บล็อกสถานการณ์อิรักที่จัดทำโดยทหารอเมริกันในสมรภูมิ บล็อกที่ติดตามผลงานและงานวิจารณ์ดนตรีของเด็กมัธยม บล็อกของเพื่อนหรือคนใกล้ชิด เป็นต้น ปัจจุบันมีการประมาณการกันว่ามีบล็อกอยู่ 24 ล้านบล็อกและกำลังเพิ่มขึ้นวันละกว่า 70,000 บล็อก และจะเพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ ห้าเดือน
    คลิปวีดิโอออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ Metacafe.com หรือ YouTube.com ที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้นำคลิปวีดีโอสั้นๆ อัพโหลดเข้ามาเก็บไว้ในเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้ชม ปัจจุบันพบว่ามีเว็บ YouTube มีอัตราการเจริญโตอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ กว่า 100 ล้านครั้งต่อวัน ในแต่ละเดือนมีผู้อัพโหลดวิดีโอขึ้นเว็บกว่า 65,000 เรื่อง สมาชิกเพิ่มขึ้นเดือนละ 20 ล้านคน ซึ่งคลิปวีดิโอที่อัพโหลดเข้ามานั้นมีมากมายหลายประเภท อาทิ การแสดงโชว์ผาดโผน การเล่นดนตรีในแนวใหม่ ภาพเหตุการณ์จริงจากอุบัติเหตุหรือภัยธรรมชาติ วิดีโองานเทศกาศต่างๆ รวมไปถึงตัวอย่างภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถแสดงความคิดเห็นและร่วมโหวตให้คะแนนคลิปยอดนิยม ทำให้คนบางคนที่อยู่ในคลิปวีดิโอกลายเป็นดาราดังภายในชั่วข้ามคืนก็มี
    สารานุกรมเสรีออนไลน์ เช่น วิกิพีเดีย (Wikipedia.org) เป็นสารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไข ผู้ที่เข้ามาอ่านสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ลงไปได้หรือแก้ไขบทความที่มีเนื้อหาผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ ทำให้วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่ถือได้ว่าสร้างปรับปรุงแก้ไขและตรวจสอบโดยสังคมออนไลน์ และได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไข ปัจจุบัน วิกิพีเดียมีทั้งหมด 250 ภาษา รวมทุกภาษามีบทความมากกว่า 6,000,000 บทความ และปัจจุบัน (พ.ค.2550)วิกิพีเดียไทยมีบทความกว่า 22,000 บทความ
  • การแบ่งทรัพยากรใช้ร่วมกัน เช่น โครงการ SETI@home หรือ Search for Extra-Terrestrial Intelligence at home เป็นโครงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในการค้นหาสัญญาณจากต่างดาว ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 โดยในระยะแรกเป็นโปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์ จะทำงานเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีการใช้งานอื่น ปัจจุบัน SETI@home ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้ทั่วไป มีจำนวนผู้ร่วมโครงการถึง 5.2 ล้านคน ได้รับการบันทึกใน กินเนสบุ๊ค (Guinness Book of World Records) ว่าเป็นโครงการ distributed computing ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ด้วยจำนวนผู้ใช้ที่ยังทำการอยู่ในปัจจุบัน ประมาณ 3 แสนเครื่อง (5 ธ.ค. 49) โครงการนี้สามารถประมวลผลได้ 257 TeraFLOPS เปรียบเทียบกับ Blue Gene ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกของ ไอบีเอ็ม สามารถคำนวณได้ 280 TFLOPS
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI)
  • เครื่องจักรที่สามารถทำงานได้เหมือนคน เช่น หุ่นยนต์ (Robot) ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณที่เสี่ยงอันตรายหรืองานสำรวจดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจใต้ทะเล หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน
  • การทำงานต่างๆ เลียนแบบพฤติกรรมของคน เช่น การมองเห็น การได้ยิน การคิด การใช้เหตุผลและตัดสินใจ เป็นต้น ตัวอย่าง AI ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอันหนึ่ง ได้แก่ ดีพ บลู ทู (Deep Blue II) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM ที่สามารถเอาชนะนายแกรี่ คาสปารอฟ แชมป์โลกหมากรุกเมื่อปี ค.ศ.1997 โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ IBM เครื่องนี้ สามารถประเมินแนวทางที่เป็นไปได้นับพันวิธี ซึ่งสิ่งประดิษฐ์นี้แสดงให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้ระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเฉลียวฉลาดและสามารถตอบสนองได้เหมือนกับมนุษย์มากขึ้น
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
  • ระบบระบุพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System, GPS) คือเครื่องมือที่ทำงานโดยการรับสัญญาณจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 เพื่อระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้งาน GPS ในรูปแบบของการกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การสำรวจ การนำทาง การทำแผนที่ การเดินป่า การเดินเรือ รวมถึงการค้นหาสถานที่สำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการขนส่งมีการนำ GPS ไปใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ เพื่อควบคุมดูแลตลอดจนบันทึกเส้นทาง ลักษณะการขับรถ และการควบคุมเครื่องมืออุปกรณ์ในรถ เช่น อุณหภูมิ    ตู้แช่สินค้า ทำให้สามารถบริหารจัดการการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) โดยเฉพาะดาวเทียมรายละเอียดสูงซึ่งสามารถมองเห็นรายละเอียดของพื้นโลกได้ชัดเจน ปัจจุบันข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเหล่านี้สามารถสืบค้นได้ฟรีผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น โปรแกรม Google Earth เป็นโปรแกรมที่สามารถเรียกใช้ผ่านทาง Internet เป็นโปรแกรมที่ทำให้มองเห็นภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงถึงภูมิประเทศตลอดจนรายละเอียดของเมืองหรือพื้นที่ต่างๆ หลายที่ทั่วโลกได้อย่างชัดเจน สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างมากมายทั้งในด้านท่องเที่ยว การเรียนการสอนภูมิศาสตร์ การวางแผนการใช้ที่ดินของทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งการประยุกต์ทางธุรกิจต่างๆ
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS) คือ การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ จัดการและวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในงานด้านวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลาย เช่น การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน การบุกรุกทำลายป่าไม้ เป็นต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในสาขาต่าง ๆ เช่น การเกษตร ป่าไม้ ธรณีวิทยา อุทกศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ภัยพิบัติ การวางผังเมือง เป็นต้น
  • การบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจจะมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย สถานะภาพขององค์กรจึงต้องแปรเปลี่ยนไปตามกระแสของเทคโนโลยี เพราะการดำเนินธุรกิจต้องใช้ระบบสื่อสารที่มีความรวดเร็ว ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
  • เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้การตัดสินใจหรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น แต่เดิมการตัดสินปัญหาอาจมีหนทางให้เลือกได้น้อย เช่น มีคำตอบเดียว ใช่และไม่ใช่ แต่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สนับสนุนการตัดสินใจ ทำให้วิถีความคิดในการตัดสินปัญหาเปลี่ยนไป ผู้ตัดสินใจมีทางเลือกได้มากขึ้น มีความละเอียดอ่อนในการตัดสินปัญหาได้ดีขึ้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทั่วโลกทำได้สะดวกมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการรับชมข่าวสาร รายการโทรทัศน์ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันทีที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกันและติดต่อกับคนได้ทั่วโลก จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น
ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ย่อมเกิดผลกระทบจากเทคโนโลยีดังกล่าวทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ซึ่งประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตของมนุษย์นั้นมีมากมาย ทั้งในเรื่องของการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและเรื่องอื่นๆ แต่ประเด็นที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญก็คือเรื่องของจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เนื่องจากในโลกของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดนอาจทำให้ข้อมูลสารสนเทศที่ได้รับมีเนื้อหาทั้งเหมาะสมและไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่การส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล ซึ่งอาจทำให้บุคคลที่สามเกิดความเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งเนื้อหาของสารสนเทศที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องยากที่จะควบคุม มิให้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันกลไกของรัฐกำลังพยายามเข้าไปจัดการกับปัญหาดังกล่าวแต่ก็มีข้อจำกัดในหลายๆ ประการที่ไม่สามารถเข้าไปจัดการได้ทั้งหมด ทางออกของการแก้ไขปัญหาดูเสมือนหนึ่งว่าจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับประเด็นทางจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์มากกว่าเพื่อการทำลาย ดังนั้นการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องทางจริยธรรมคงจะเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าวได้ในระยะยาว
ประเด็นสำคัญทางด้านจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่พบบ่อยครั้ง ดังเช่นตัวอย่างนี้
  • การแพร่ระบาดของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมมีจำนวนมากขึ้น อาทิ เว็บไซต์ลามกอนาจาร เว็บไซต์บริการทางเพศ เว็บไซต์เกี่ยวกับการพนัน เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับยาเสพติดเว็บไซต์ที่ขายของผิดกฎหมายหรือละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบอย่างทั่วถึงเป็นไปได้ยาก
  • เว็บแคม (webcam) หรือ เว็บแคเมรา (web camera) เป็นกล้องที่ส่งสัญญาณภาพผ่านทางคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยที่แต่ละฝ่ายสามารถเห็นภาพกันและกันขณะพูดคุย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการประชุมออนไลน์ แต่ขณะเดียวกัน เว็บแคมก็เป็นสื่อที่ใช้ในการชมและถ่ายทอดกิจกรรมทางเพศ หรือแสดงลามกทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น
  • อาชญากรคอมพิวเตอร์ เช่น แฮกเกอร์ (Hacker) บางคนที่พยายามหาวิธีการหรือช่องโหว่ของระบบ เพื่อแอบลักลอบเข้าสู่ระบบ เพื่อล้วงความลับหรือแอบดูข้อมูลข่าวสาร อาทิ ลักลอบใช้ข้อมูลบัตรเครดิต ลบรายชื่อผู้ใช้งานในระบบ และบางครั้งมีการทำลายข้อมูลข่าวสารหรือทำความเสียหายให้กับองค์กร
  • การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปสร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ อาทิ รบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายทำงานช้าลง ติดตั้งโปรแกรมที่เปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยสรุปแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกในยุคปัจจุบันที่สามารถเชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับแคบลง ระยะทางซึ่งแต่เดิมคืออุปสรรคสำคัญในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันของมนุษย์ชาติกลับไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไปทำให้มนุษย์ในแต่ละสังคมต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้มากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสื่อมถอยของสังคมในยุคปัจจุบัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์ผู้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด หากรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสร้างสรรค์และรู้เท่าทัน ย่อมส่งผลให้มนุษย์ในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio Technology) คืออะไร
เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคนิคการนำสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาพัฒนาหรือปรับปรุงพืชสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อประโยชน์เฉพาะตามที่ต้องการ แม้จะฟังดูเป็นศัพท์วิชาการแต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด มนุษย์เราได้นำประโยชน์จากกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราเป็นเวลานานนับพัน ๆ ปีมาแล้วในรูปแบบง่าย ๆ ได้แก่ การหมักดองอาหาร เช่น เต้าเจี้ยว แหนม ปลาร้า เป็นต้น การทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา ไวน์ เบียร์ เป็นต้น  
ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีวิทยาศาสตร์เป็นรากฐาน ประกอบด้วยหลายสาขาวิชาผสมผสานกัน ได้แก่ สาขาชีววิทยา จุลชีววิทยา เคมี อณูพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์มาใช้ประโยชน์ เป็นสหวิทยาการที่นำความรู้พื้นฐานสิ่งมีชีวิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตั้งแต่เรื่องการขยายและปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย การนำผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตไปแปรรูปเป็นอาหารหรือยา รวมถึงกระบวนการที่ใช้แปรรูปผลผลิตในระดับโรงงานและกระบวนการที่ใช้สิ่งมีชีวิต เช่น จุลชีพในการบำบัดน้ำเสีย หรือ การนำของเสียไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปใช้ทำปุ๋ย เป็นต้นเทคโนโลยีชีวภาพ มีความสำคัญอย่างไร
เทคโนโลยีชีวภาพได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านเกษตรกรรม อาหาร การแพทย์ และเภสัชกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมี เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพื่อคิดค้นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เพื่อค้นคิดตัวยาป้องกันและรักษาโรค ซึ่งล้วนเป็นการนำเทคโนโลยีชีวภาพมารับใช้ประชากรโลก ในการสร้างสรรค์พัฒนาให้มวลมนุษย์สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ปัจจุบัน มีการนำวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ที่เด่นชัดที่สุดคือ ในทางการแพทย์และการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพได้ก่อให้เกิดความหวังใหม่ ๆ ในการคิดค้นหนทางแก้ปัญหาสำคัญที่โลกกำลังเผชิญอยู่ทั้งทางด้านเกษตรกรรม อาหาร การแพทย์ และเภสัชกรรมอันได้แก่
  • ความพยายามจะลดประมาณการใช้สารเคมีในเกษตรกรรม ด้วยการคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ที่ต้านทานโรคศัตรูพืช อันจะช่วยลดปัญหาการใช้สารเคมีซึ่งเป็นหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
  • ความพยายามจะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกของโลก ด้วยการปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ที่ทนทานต่อภาวะแห้งแล้ง หรืออุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป
  • ความพยายามจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของโลก ด้วยการคิดค้นปรับปรุงพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ทนทานต่อโรคภัยและให้ผลิตสูงขึ้น
  • ความพยายามจะค้นคิดอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นหรือมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากขึ้น เช่นอาหารไขมันต่ำ อาหารที่คงความสดได้นานกว่า อาหารที่มีอายุการบริโภคนานขึ้นโดยไม่ต้องใส่สารเคมี เป็นต้น
  • ความพยายามจะค้นคิดตัวยาป้องกันและรักษาโรคติดต่อหรือโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่ยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผล เช่น การคิดตัวยาหยุดยั้งการลุกลามของเนื้อเยื่อมะเร็งแทนการใช้สารเคมีทำลาย การคิดค้นวัคซีนป้องกันไวรัสตับต่าง ๆ   ในเชิงพาณิชย์ บริษัทใหญ่ ๆ ของโลกได้คิดค้นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพด้านเภสัชภัณฑ์และเกษตรที่มีคุณสมบัติอันเป็นที่ต้องการของแต่ละสาขาออกจำหน่าย เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ของโลกมากมาย
ผลงานวิจัยค้นคว้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ที่โดดเด่นในด้านต่าง ๆ มีอาทิ
  • เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ ไผ่ การพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืช โรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า
  • เทคโนโลยีชีวภาพเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือการเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ
  • เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง เช่น การผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเน่าเสีย
  • เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิต แอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบโรคทางพันธุกรรม  
บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ — Presentation Transcript
·         1. บทบาทของการสื่อสารข้อมูล และ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ครูปยะดนัย วิเคียน : โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม ิ http://krupiyadanai.wordpress.com/
·         2. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารเป็นการพูดคุยหรือส่งข่าวสารกันของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง การใช้ภาษาพูด หรือผ่านทางตัวอักษร โดยส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารในระยะใกล้ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นมีการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สาหรับใช้ในการสื่อสาร ทาให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และโทรสาร
·         3. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) สาหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่า ระบบเครือข่าย (network system) มีการพัฒนาให้ดีขึ้นตามลาดับ จากในอดีตการใช้งานคอมพิวเตอร์จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม การใช้งานจะมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) หลายเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลในยุคแรก
·         4. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ต่ อ มาเมื่ อ มี ก ารพั ฒ นาไมโครคอมพิ ว เตอร์ ห รื อ พี ซี ซึ่ ง มี ขี ดความสามารถในด้านความเร็วการทางานสูงขึ้น และมีราคาต่าลงมาเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทาให้การใช้งานแพร่หลายมากยิ่งขึ้น และมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน นอกเหนือจากการเชื่ อ มต่ อ เทอร์ มิ นั ล เข้ า กั บ คอมพิ ว เตอร์ ข นาดใหญ่ แ ล้ ว ยั ง มี ก ารก าหนดมาตรฐานกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่มาจากผู้ผลิตต่างกัน ให้สามารถติ ด ต่ อ ถึ ง กั น ได้ เกิ ด การใช้ ง านระบบเครื อ ข่ า ยที่ ช่ ว ยเพิ่ ม ขี ดความสามารถในการทางาน เช่น การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทาให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วในการใช้งานเพิ่มขึ้น
·         5. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ลักษณะของเครือข่ายอาจเริ่มจากจุดเล็กๆ เช่น ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนแผงวงจรเดียวกัน ไปจนถึงระบบที่ทางานร่วมกันในห้องทางานในอาคาร ระหว่างอาคาร ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กระจายไปทั่วโลก
·         6. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ปัจจุบันมีการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการคานวณและเก็บข้อมูล รวมถึงการสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบสานักงานอัตโนมัติ (Office Automatic: OA) เป็นระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์และระบบเครือข่ายช่วยในงานที่เกี่ยวกับเอกสาร การโอนย้ายแลกเปลี่ยนไฟล์ การควบคุมเอกสารและส่งเอกสารไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการส่งอีเมลล์ ผู้ใช้งานอาจอยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออยู่คนละเมืองก็ได้ การส่งข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ต้องอาศัยอุ ป กรณ์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ห ลายประเภทที่ สามารถเชื่ อ มต่ อ และท างานร่วมกัน โดยผ่านสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูล
·         7. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) นอกจากนี้ยังมีการกระจายฐานข้อมูลความรู้ต่างๆ ไว้ผ่านระบบเครือข่าย เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม งานวิจัย เศรษฐกิจ และสิน ค้ า ต่ า งๆ ในสถานศึ ก ษาอาจมี ข้อ มู ล เกี่ ย วกั บ หนั ง สื อ และต าราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อผ่านเครือข่ายการสื่อสารด้วย คอมพิวเตอร์มายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น ทาให้การได้รับข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
·         8. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล ปัจจุบันมีข้อมูลจานวนมากสามารถถู ก ส่ ง ผ่ า นเครื อ ข่ า ยการสื่ อ สารได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและร ว ด เ ร็ ว เ ช่ น ก า ร ส่ ง ข้ อ มู ล ผ่ า น เ ค รื อ ข่ า ย โ ท ร ศั พ ท์ ร ะ บ บ ดี เ อ สแอล (Digital Subscriber Line: DSL) ถ้าส่งด้วยอัตราเร็ว 2 Mbps หรือประมาณ 256 kB/s จะส่งข้อมูลจานวน 200 หน้าได้ในเวลาไม่น้อยกว่า 10 วินาที 2. ความถูกต้องของข้อมูล การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล ซึ่งระบบการสื่อสารจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ส่ง และแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงมีความเชื่อถือได้สูง
·         9. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 3. ค ว า ม เ ร็ ว ข อ ง ก า ร รั บ ส่ งข้ อ มู ล การใช้ ค อมพิ ว เตอร์ ใ นการส่ ง ข้ อ มู ลหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทาได้ อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสัญญาณทางไฟฟ้าเดิ น ทางด้ ว ยความเร็ ว ใกล้ เ คี ย งความเร็ วแสง เช่น การดูภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต การตรวจสอบหรือการจองที่นั่งของสายการบินสามารถทาได้ทันที
·         10. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 4. การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล การรับและส่งข้อมูลผ่ า นเครื อ ข่ า ยการสื่ อ สารสามารถท าได้ ใ นราคาถู ก กว่ า การสื่ อ สารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี (Voice over IP: VIP) จะมีค่าใช้จ่ายต่ากว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน หรือการใช้อีเมลล์ส่งข้อมูลหรือเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จะมีค่าใช้จ่าย ต่ากว่า และรวดเร็วกกว่าการส่งเอกสารด้วยวิธีอื่น
·         11. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 5. ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร ในองค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่แหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง เช่น เครื่องบริการไฟล์ (file server) เป็นต้น 6. ความสะดวกในการประสานงาน ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่ ง ที่ อ ยู่ ห่ า งไกลกั น สามารถท างานประสานกั น ผ่ า นทางระบบอินเทอร์เน็ต เช่น ประชุมทางไกล และการแก้ไขเอกสารร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย
·         12. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 7. ขยายบริการขององค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทาให้องค์กรสามารถกระจายที่ทาการไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการให้บริการ เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ สามารถถอนเงินได้จากตู้เอทีเอ็ม หรือฝากเงินได้ที่ตู้ฝากเงินสด เป็นต้น 8. การสร้ า งบริ ก ารรู ป แบบใหม่ บ นเครื อ ข่ า ย การให้ บ ริ ก ารต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทาให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่นการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการแบบหนึ่งของพาณิ ช ย์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (e-commerce) และการช าระค่ า สิ น ค้ า ค่ าสาธารณูปโภค ผ่านจุดรับชาระแบบออนไลน์ ที่เรียกว่าเคาน์เตอร์เซอร์วิส(counter service)
·         เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
·                จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกที่ก้าวสู่โลกแห่งการเรียนรู้เทคโนโลยีนานาประเทศต่างพยายามปรับกลยุทธ์ เพื่อยกระดับศักยภาพของสังคมด้วยการนำเทคโนโลยีร่วมสมัยถึงผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคม 4 ด้าน คือ ด้านความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการขยายขอบเขตของความรู้ทั้งในแนวลึกและแนวกว้างให้แก่ผู้ศึกษา ค้นคว้า ผลกระทบประการที่สองคือทำให้เกิดอาชีพใหม่และทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลกระทบประการต่อไปคือสังคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม รวมทั้งความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคม ผลกระทบประการ สุดท้ายคือการอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการศึกษา การดำรงชีวิต ช่วยในการคิด การตัดสินใจ และประหยัดเวลา 

       
เมื่อนักการศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้สามารถแข่งขันในโลกสากล ก่อให้เกิดภูมิปัญญาและการเรียนรู้อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในวงการศึกษาเช่นเดียวกัน เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง ซีดีรอม มัลติมีเดีย อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นต้น
·         2.1 บทบาทและคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
       
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 ; ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2542)
       1)
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" ที่จะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ การเรียนการสอนทางไกลที่ทำให้ผู้เรียนในที่ห่างไกลในชนบทที่ด้อยโอกาส 
ให้มีโอกาสเท่าเทียมกับผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ในเมือง รวมทั้งการที่ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่ง 
ข้อมูลของโลก ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการสามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย
        2)
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การที่ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทันเพื่อน ผู้เรียนที่รับข้อมูลได้ปกติสามารถเพิ่ม ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น จากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลกอย่างระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลายและกว้างขวาง อย่างที่ระบบฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศยังทำให้สื่อทางเสียง สื่อข้อความ สื่อทางภาพ สามารถผนวกเข้าหากัน และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ไม่ว่าจะดึงข้อมูลจากสื่อที่เก็บข้อมูล 
เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม หรือจากเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีดิจิทัล และการบีบอัดสัญญาณที่ก้าวหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันข้อมูลที่มีประโยชน์ยังสามารถเก็บบันทึกและเรียกใช้ร่วมกันได้จากคลังดิจิทัล (Digital Archive) ในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทความจริงเสมือน (Virtual Reality) ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการฝึกอบรม
       3)
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นนี้ได้คำนึงถึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน (Literacy) การสร้างผู้สอนที่มีความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารประกอบการเรียนการสอน การสร้างผู้มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยี สารสนเทศ และที่จำเป็นมากสำหรับประชาชนทั่วไป คือการสร้างทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์
       4)
บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็น "เครือข่ายแห่งเครือข่าย" (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น การเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทำให้บุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของ
ตนเองต่อโลกได้ง่าย พอกับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator-URL) และผ่านตัวสืบค้น (Search Engines) ต่าง ๆ นอกจากนั้นการสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยสะดวก ความเร็ว และถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบแผนกระดานข่าว (Bulletin Board) และกลุ่มอภิปราย (Discussion Groups) ต่าง ๆ ทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทางจิตวิทยาให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไป
·                โดยสรุปเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนสัมพันธ์หรือเอื้อต่อการศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร และการบริการสังคม
·          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น